Welcome Glitter Graphic

Monday 29 July 2013

Study notes No.7

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจากในสัปดาห์หน้าจะมีการสอบกลางภาคของปีการศึกษา 1/2556 อาจารย์เห็นถึงความสำคัญของการสอบจึงให้เวลานักศึกษาในการเตรียมตัวอ่านหนังสือสำหรับการสอบกลางภาคและจะสอนชดเชยเพิ่มให้แก่นักศึกษาในภายหลัง

**เพิ่มเติม 

เคล็ดลับวิธีทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำ
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้

3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง

4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป

5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง

7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ

8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
          ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
          ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ 
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...สวัสดี 
หมายเหตุ * เทคนิคการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำนี้ เป็นเพียงข้อเดียว (อรรถปฏิสัมภิทา) ในธรรมะชุดปฏิสัมภิทา 4 หรือ ธรรมะเพื่อความเลิศทางวิชาการ จาก พระไตรปิฎกมรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุด

Sunday 28 July 2013

เรียนชดเชย

วันนี้ได้เข้าอบรมการทำสื่อให้แก่เด็กปฐมวัย โดยอาจารยืให้จับกลุ่มแบ่ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน

สื่อที่ทำ มีดังนี้

1.สื่อตัวการ์ตูนหรือสัตว์อ้างปาก 
ที่ใช้เชือกร้อยแล้วดึง ทำให้ปากอ้า


(กลุ่มข้าพเจ้าทำแมวคาบกางปลา)

2.สื่อที่ดึงแล้วโยกไปมา 
ที่ใช้กระดาษชานอ้อยทำเป็นฐานสำหรับดึง และนำกระดาษแข็งมาติดกับกระดาษชานอ้อยบริเวณตรงกลางเพื่อเป็นแกนสำหรับให้ภาพโยกไปมา เสร็จแล้วนำภาพที่ต้องการติดลงไปตรงแกนนั้น จะทำมากกว่า 1 แกนก็ได้


(กลุ่มข้าพเจ้าทำปลาโลมากำลังว่ายน้ำ)


สื่่อของทุกกลุ่มที่ทำในวันนี้


ประโยชน์ที่ได้จากการอบรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

- ได้แนวคิดใหม่ๆในการนำมาใช้ทำสื่อที่หลากหลาย
- ได้ลองฝึกและทำสื่อด้วยตนเอง
- ได้เห็นสื่อที่หลายหลายในแต่ละแนวคิดของเพื่อนกลุ่มอื่น
- สามารถนำวิธีการทำสื่อเหล่านี้ไปดัดแปลงใช้กับสื่ออื่นๆ
- สามารถนำสื่อที่ทำนี้ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย


Monday 22 July 2013

Study notes No.6

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจาก ตรงกับวันสำคัญทางศาสนา คือ วัน อาสาฬหบูชา

**เพิ่มเติม  

อาสาฬหบูชา
ประวัติความเป็นมา 
     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง 

     หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 
     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง 


     หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 
ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่



๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

         และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

         ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" 
หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา


จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ 

1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ 

พระสังฆรัตนะ 

Monday 15 July 2013

Study notes No.5

วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานประดิษฐ์ของเล่นทุกคนพร้อมให้คำแนะนำ ในการประดิษฐ์อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ชิ้น คือ
1.งานประดิษฐ์ของเล่น
2.งานประดิษฐ์ที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
3.งานประดิษฐ์สำหรับทดลอง
ซึ่งในขั้นตอนดำเนินงานต้องบันทึกตั้งแต่แรกเริ่มจนจบการทำงานโดยให้บันทึกลงบล๊อค
หลังจากนำเสนองานเสร็จแล้วอาจารย์ได้เปิด VDO ของรายการ iSci ความฉลาดแบบยกกำลังสอง ช่อง Thaipes เรื่อง ลูกโป่งรับน้ำหนัก และ VDO ของรายการ รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ เรื่องเมล็ดจะงอกไหม เมื่อดูจบอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมพร้อมสั่งงานเป็นอันจบคาบเรียน

ได้ความรู้อะไร ?
- ได้รู้เกี่ยวกับการทำของเล่น
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของลูปโป่งที่รับน้ำหนักได้มาก
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องการงอกของเมล็ดพืช

ได้ทักษะอะไร ?
- ได้ทักษะการสังเกต
- ได้ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
- ได้ทักษะการนำเสนอ

ประยุกต์ใช้อย่างไร ?
- นำไปประยุกต์ใช้คือ การนำวัสดุที่เหลือใช้มารีไซเคิลใหม่และสร้างสรรค์ให้เป็นผลงานที่สามารถใช้ประโยชน์และเรียนรู้ได้

** งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้นำอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ของเล่นมา 2 ชุด เพื่อสอนเพื่อนอีกคน


VDO เรื่อง ลูกโป่งรับน้ำหนัก





VDO เรื่อง เมล็ดจะงอกไหม


Monday 8 July 2013

Study notes No.4

วันนี้อาจารย์ได้ให้พับกระดาษเป็น 8 แผ่น เท่าๆกันและให้แม็กเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วให้วาดรูปตามจินตนาการของตัวเองที่มุมกระดาษ จากนั้นก็ลองกรีดกระดาษดู ภาพก็จะเคลื่อนที่ตามความเร็ว หลังจากทำกิจกรรมนี้อาจารย์ได้ให้ดู CD เรื่อง อากาศมหัศจรรย์ พร้อมสรุปเหมือนที่เคยดูเรื่องอื่นในสัปดาห์ก่อน

ได้ความรู้อะไร ?
- ได้รู้เกี่ยวกับการทำภาพเคลื่อนไหว
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของการสร้างจินตนาการ
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของอากาศ

ได้ทักษะอะไร ?
- ได้ทักษะการคิด
- ได้ทักษะการหาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล
- ได้ทักษะการวิเคราะห์และสรุป

ประยุกต์ใช้อย่างไร ?
- นำไปประยุกต์ใช้คือ นำไปสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจนกว่าเก่า โดยสร้างสรรค์ให้เกิดความหลากหลายและหลายรูปแบบ


ภาพเคลื่อนไหวที่ข้าพเจ้าทำ คือ การเกิดของไก่





VDO เรื่อง อากาศมหัศจรรย์



** สรุปเรื่อง อากาศมหัศจรรย์

อากาศ คือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น 

บรรยากาศคืออะไร 
บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere)  และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ
1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ  ทำให้เกิดลมและฝน
3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน


** หาเพิ่มเติม เรื่อง ภาพติดตา

ภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพครั้งนึงอยู่ในสมองชั่่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพนั้นอยู่แล้ว คนปรกติจะมีระยะเวลาการเห็นภาพติดตาประมาณ 10-15 ภาพต่อวินาที หลักการนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการทำภาพเคลื่อนไหว อย่างเช่นการ์ตูนแอนิเมชั่น และการถ่ายภาพยนต์ อย่างที่เราเห็นในจอโทรทัศน์ไม่ได้สว่างพร้อมกันหมดทั้งจอ แต่หลอดภาพในโทรทัศน์จะยิงลำแสงต่อกันเป็นแถบสีเป็นความเร็วที่สูงมาก สแกนจากบนล่งล่าง แถบเว้นแถบแล้วจึงขีดแถบที่ว่างจนเต็ม แต่ที่เราไม่รู้สึกเพราะเราเห็นภาพเป็นภาพติดตา จึงเป็นภาพสว่างพร้อมกันทั้งจอ

Monday 1 July 2013

Study notes No.3

วันนี้อาจารย์ได้กลับมาสรุปเนื้อหาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้อาจารย์ได้แยกออกมาเป็นหัวข้อให้เห็นได้ชัดขึ้นในรูปของ Mind Mapping ส่วนของเนื้อหาที่พิมพ์ลงไปนั้นอาจารย์จะถามนักศึกษาและเอาคำตอบจากของนักศึกษาเป็นเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นๆ หลังจากร่วมอภิปรายและซักถามในหัวข้อนี้เสร็จแล้ว อาจารย์ได้พูดถึงการดู CD เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ว่าเนื้อหาเป็นอย่างไรพร้อมกับสรุปให้นักศึกษาฟัง หลังจากสรุปเรื่องนี้เสร็จ ก่อนที่อาจารย์จะให้ดู CD เรื่องต่อไป คือ เรื่องความลับของแสง อาจารย์ให้ดูก่อนว่าสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ให้ดูนี้สอนเกี่ยวกับเรื่องอะไร หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ดู CD เรื่อง ความลับของแสง พร้อมกับให้สรุปเนื้อหาจากการดู CD และส่งท้ายคาบเรียนทุกคน

ได้ความรู้อะไร ?
- ได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาของวิทยาศาสตร์
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของน้ำ
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของแสง

ได้ทักษะอะไร ?
- ได้ทักษะการคิด
- ได้ทักษะการหาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล
- ได้ทักษะการวิเคราะห์และสรุป

ประยุกต์ใช้อย่างไร ?
- นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น

** งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาคิดสื่อวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุที่เหลือใช้ มา 1 ชิ้น
- ให้เก็บใบไม้ 1 ใบ และทำให้แห้ง

VDO ที่ศึกษาวันนี้ เรื่อง ความลับของแสง



Mind Mappinp สรุปในเรื่องของวิทยาศาสตร์


** สรุป เรื่อง ความลับของแสง


แสง  เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่รับรู้ได้ด้วยสายตา  แสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้

แหล่งกำเนิดแสง
แหล่งกำเนิดแสง  หมายถึง  สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ โดยแยกได้   3  ประเภท ดังนี้
1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  ดวงอาทิตย์ ดวงดาวบางดวง  ฟ้าแลบ  ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่ที่สุด                               
2. แสงจากสัตว์  สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง  เช่น หิ่งห้อย แมงดาเรือง
3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  เช่น  แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้

การเดินทางของแสง
               แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดด้วยความเร็วมาก โดยเดินทางได้ 186,000  ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000  กิโลเมตร ต่อวินาที  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง และเดินทางผ่านสุญญากาศได้  เช่น  แสงจากดวงอาทิตย์เดินทางมายังโลกของเรา โดยผ่านสุญญากาศ ผ่านอากาศมายังโลกของเราใช้เวลา  8  นาที  ซึ่งดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราถึง  93  ล้านไมล์

ตัวกลางของแสง
ตัวกลางของแสง  หมายถึง   วัตถุที่ขวางทางเดินของแสง โดยแบ่งเป็น  3  ประเภท ดังนี้
1. ตัวกลางโปร่งใส  หมายถึง  ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านไปได้หมด  เช่น น้ำใส พลาสติกใส กระจกใส อากาศ แก้วใส
2. ตัวกลางโปร่งแสง  หมายถึง  ตัวกลางที่แสงผ่านไปได้ดี  แต่ผ่านได้ไม่หมด เช่น  น้ำขุ่น กระจกฝ้า หรือหมอกควัน เป็นต้น
3. ตัวกลางทึกแสง  หมายถึง  ตัวกลางที่แสงผ่านไม่ได้เลย เช่น  สังกะสี กระเบื้อง กระจกเงา เป็นต้น

การหักเหของแสง
                 แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางอย่างเดียว จะเดินทางเป็นเส้นตรง แต่เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางอย่างหนึ่ง ไปยังตัวกลางอีกอย่างหนึ่ง ที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการหักเหของแสง เช่น  แสงเดินทางจากน้ำผ่านอากาศ หรือจากอากาศผ่านไปยังน้ำ จะเกิดการหักเหตรงรอยต่อ