Welcome Glitter Graphic

Monday 26 August 2013

Study notes No.11

ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ เนื่องจากอาจารย์ติดงานด่วนของทางคณะ แต่อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาทำงานส่งในคาบ
ต่อไป คือ การทำของเล่นตามมุม พร้อมกับเก็บตกการทดลองและการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม และจะสอนชดเชยเพิ่มให้

**เพิ่มเติม

การทดลอง ดอกไม้บาน

อุปกรณ์

1. กระดาษ A4

2. กรรไกร

3. สี

4. กะละมังขนาดเล็กหรือชาม

ขั้นตอนการทำดอกไม้

1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่ากระดาษโน๊ต


2.เมื่อตัดเสร็จให้พับกระดาษเป็นสี่ทบเท่าๆกัน โดยครั้งที่ 1 พับครึ่งเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ ครั้งที่ 2 พับอีกครั้งเป็นสี่เหลียมจัตุรัสเหมือนเดิม


3.เมื่อพับเสร็จแล้วให้วาดรูปกลีบดอกไม้ลงไปที่มุมกระดาษ ในด้านที่ไม่ใช่ปากกระดาษอ้า พร้อมกับตัดกลีบดอกไม้ที่วาดออกมา

4.จากนั้นคลี่กลีบดอกไม้ออก ก็จะได้ดอกไม้ที่เสร็จสมบรูณ์ เสร็จแล้วตกแต่งด้วยสีให้สวยงาม

5.เมื่อแต่งเติมสีสันเสร็จแล้ว ให้พับกลีบดอกไม้เข้า ทีละกลับ ทีละกลีบ จนครบทั้ง 4 กลีบ



6. เสร็จแล้วนำดอกไม้ทำการทดลอง โดยใส่ลงไปบนน้ำที่เตรียมใส่ไว้ในกะละมังขนาดเล็กหรือชาม


การดำเนินกิจกรรมการทดลอง

ขั้นนำ

ขั้นที่1 ขั้นกำหนดปัญหา

      แนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้ "เด็กๆคิดว่าบนโต๊ะมีอุปกรณ์อะไรบ้างคะ" หลังจากนั้นถามอีกว่า"เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่บนโต๊ะสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง" แล้วก็เริ่มทำการประดิษฐ์ดอกไม้ ตามวิธีการด้านบน

ขั้นที่2 ขั้นตั้งสมมติฐาน

     เด็กๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ เช่น เมื่อนำดอกไม้ลงไปวางในกะละมังขนาดเล็กหรือชามที่ใส่น้ำจะเกิดอะไรขึ้นคะ


ขั้นสอน

ขั้นที่3 เก็บรวบรวมข้อมูล

       ให้เด็กทำการทดลองดอกไม้บาน

       เด็กลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
       เด็กสังเกตและเก็บข้อมูลของการทดลองที่ได้ทำ
       ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่4 การวิเคราะห์ข้อมูล

 ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง ดังนี้
1.ดอกไม้ที่เด็กได้ประดิษฐ์เมื่อวางลงไปในน้ำ มีลักษณะอย่างไร
2.เด็กๆคิดว่าทำไมดอกไม้ถึงมีลักษณะอย่างที่เห็น


ขั้นสรุป

ขั้นที่5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

กระดาษที่ทำด้วยเยื่อไม้มีรูพรุนมาก เมื่อพับกระดาษจะทำให้รูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไปลอยน้ำ น้ำจะซึมเข้าไปในรูพรุน ทำให้เกิดแรงพลัก  โดยเฉพาะรูพรุนในบริเวณรอยพับของดอกไม้  ดอกไม้จึงบานออก เหมือนกับที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตสามารถคงรูปได้เพราะมีแรงดันนั้นอยู่

VDO การทดลองดอกไม้บาน


Monday 19 August 2013

Study notes No.10

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มที่นำเสนอการทดลอง ดังต่อไปนี้


ระหว่างการนำเสนอและหลังจากการนำเสนออาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในเรื่องของการสอนวิทยาศาตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย

ซึ่งสรุปใจความได้ว่าการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยควรเป็นไปตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นเตรียม

1.ครูและเด็กสนทนาถึงกิจกรรมที่จะปฏิบัติและอธิบายให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ

2.ครูและเด็กร่วมสนทนาถึงขั้นตอนการทดลอง

3.ครูแบ่งกลุ่มเด็กตามความเหมาะสม

ขั้นปฏิบัติการ

1.ให้เด็กลงมือปฏิบัติการทดลองตามกลุ่มที่แบ่งไว้

2.ครูสังเกตการปฏิบัติการทดลองของเด็กแต่ละกลุ่มอย่างทั่วถึง

3.ให้เด็กสังเกตโดยครูใช้คำถามกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น

ขั้นสรุป

1.ครูและเด็กร่วมอภิปราบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม

2.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกระบวนการการทดลอง


**เพิ่มเติม

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

Saturday 17 August 2013

เรียนชดเชย

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน พร้อมบอกวิธีประดิษฐ์ วิธีเล่น และหลักการวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่ชิ้นนั้นๆ
ซึ่งของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอในวันนี้ ได้แก่


หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้มอบหมายงาน ดังนี้
** งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม (กลุ่ม 3 คน)
2.นำเสนองานทดลอง ในวันที่ 19/08/56

ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ข้าพเจ้าประดิษฐ์ ขลุ่ยหลอด

วัสดุ/อุปกรณ์

1.หลอดดูดน้ำ 8 หลอด
2.กระดาษแข็ง
3.เทปใส


ขั้นตอนการทำ

1.เตรียมหลอดดูดมา 8 หลอด และ ตัดส่วนบนของหลอดดูดทั้งหมด



2.แบ่งมา 2 หลอด และตัดปลายออกเล็กน้อยอีก 2 หลอด ตัดปลายออกแต่ให้ยาวกว่า 2 หลอดแรก ตัดอีก 2 หลอดให้ยาวมากกว่าเดิม จากนั้นเรียงตามความยาว ตอนนี้จะมีหลอดดูดที่ยาว 4 ขนาด ขนาดละ 2 หลอดเรียงกันอยู่ จากนั้นตัดเทปเป็นชิ้นยาว แล้วดึงพันรอบปลายหลอดด้านล่าง ด้านบนให้ติดกัน



3.ตัดกระดาษแข็งให้กว้างเท่ากับแถบหลอด ทากาวติดลงไปบนแถบหลอด ลองเป่าลมผ่านหลอดเพื่อฟังเสียงที่เกิดขึ้น



หลักการทางวิทยาศาสตร์



วิธีการเล่น

คว่ำขลุ่ยหลอดลงให้ปลายหลอดอยู่ในแนวขวาง แล้วใช้ผิวปากเป่าตรงบริเวณปลายหลอด และลองฟังเสียงที่เกิดขึ้น


ภาพระหว่างการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ขลุ่ยหลอด


Monday 12 August 2013

Study notes No.9

ไม่มีการเรียนการสอน

 ** หมายเหตุ เนื่องจาก ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
(วันแม่แห่งชาติ)





Monday 5 August 2013

Study notes No.8

ไม่มีการเรียนการสอน 

** หมายเหตุ เนื่องจาก อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค 1/2556 ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม 2556

**เพิ่มเติม

5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอน

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย


ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด
ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้