Welcome Glitter Graphic

Wednesday 2 October 2013

Scientific research related to early childhood


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (ยุพาภรณ์  ชูสาย)

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

- เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

- เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย

- ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

- เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี อนุบาลปีที่3 เทศบาล2(วัดภูเขาดิน)จังหวัดเพชรบรูณ์

ตัวแปรที่ศึกษา

- ตัวแปรอิสระ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

- ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ 

1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการหามิติสัมพันธ์
4.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

เนื้อหา

- การเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับสีของพืช ผัก และผลไม้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัวนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้สาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสีธรรมชาติและเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคยรู้จัก

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

- ขั้นนำ เป็นขั้นนำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการเตรียมความพร้อมให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการร้องเพลง ดูภาพการเล่นปริศนาคำทาย เป็นต้น

- ขั้นสอน เป็นขั้นที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและใช้อุปกรณ์อย่างอิสระ รูปแบบของกิจกรรมมีการพูดคุยสนทนาซักถาม อภิปราย เรียนรู้   ในและนอกห้องเรียน ปฏิบัติการทดลอง มุ่งให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงทุกครั้งโดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก

- ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลของการเรียนรู้ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กได้ ทดลอง สรุปหลังจากการทดลอง โดยเด็กและครูร่วมกันสรุปถึงผลการทดลอง

สมมุติฐานการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

ผลการวิจัย

- ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษธพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด

Thai Teacher TV





          เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กเข้าใจง่าย

คุณครูควรตั้งคำถามพูดคุยกับเด็ก เป็นการฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์โดยการสังเกตแล้วนำมาเปรียบเทียบ

อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กคิดจินตนาการอย่างเต็มที่ และได้ฝึกสื่อสารจากการเล่าในระหว่างที่ทำกิจกรรม

ด้วย

         ซึ่งการทดลองที่คุณครูกรรณิการ์ เฉิน นำมาแนะนำให้แก่คุณครูมีการทดลอง ดังนี้

1. การทดลองหยดสีบนก้อนน้ำตาล

2. การทดลองความลับของสีดำ

3. การทดลองแรงดึงของน้ำ

4. การทดลองการลอยการจมของวัตถุ

          สุดท้าย การฝึกให้เด็กทำกิจกรรม และฝึกการมีทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ ต้องสร้างสิ่ง

ประทับใจที่ดีให้แก่เด็ก เพราะความประทับใจที่ดีจะส่งต่อพฤติกรรมในอนาคตของเด็กให้เกิดการอยาก

เรียนรู้ที่มากขึ้นและทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานที่อยากจะเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป

Monday 30 September 2013

Study notes No.16

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งของเล่นเข้ามุมและของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง ) เพื่อจัดเป็นนิทรรศการสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงให้บอกด้วยว่าสื่อของเล่นเข้ามุมเวลาที่เด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่สามารถที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสามารถจับคอนเซปได้ว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์อะไร หลังจากเสร็จการสรุปเรื่องของเล่นแล้วอาจารย์ได้สรุปถึงสิ่งที่สอนเด็ก ต้องเป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
     
ขั้นที่ 2 สมมติฐาน
     
ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล
   
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
     
ขั้นที่ 5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

สุดท้ายจบการเรียนการสอนและปิดคอร์ส

ภาพบรรยากาศการเก็บรวบรวมสื่อและสรุปองค์ความรู้ทั้งหมด



Monday 23 September 2013

Study notes No.15

วันนี้อาจารย์ตฤณได้ให้กลุ่มนักศึกษาที่ถูกเลือกเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สาธิตการสอนทำแกงจืด โดยให้กลุ่มที่สอนทำเป็นครูและเพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก

ขั้นตอนกระบวนการสอนและสาธิต มีดังนี้

1."เด็กๆเห็นอะไรบ้างเอ๋ยที่คุณครูเตรียมมา" พร้อมยกของประกอบขึ้นด้วยเวลาที่เด็กตอบ

2.กล่าวชมเชยเด็ก จากนั้นถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคิดว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้างค่ะ"

3. เมื่อเด็กตอบ ก็บอกว่า "วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืดกัน ไหนลองใครเคยช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำแกงจืดบ้างเอ๋ย" เมื่อเด็กตอบก็กล่าวชมเชยเด็กอีกครั้ง

4."งั้นเรามาเริ่มทำแกงจืดกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำซุปใส่หม้อก่อนนะคะ ไหนมีใครอยากออกมาช่วยคุณครูบ้างยกมือขึ้น แล้วออกมาได้เลย" ขณะที่เด็กเข้ามาหาพยายามบอกให้เด็กอยู่ห่างหม้อมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

5.ในระหว่างที่รอน้ำเดือดคุณครูก็เตรียมเต้าหู้ ต้นหอมผักชี มาหั่นรอ ช่วงที่ทำถามเด็กๆไปด้วยว่าคืออะไร แล้วบอกเด็กว่าเวลาที่จะหั่นของควรให้คุณพ่อคุณแม่หั่นเพราะอาจโดนมีดบาดได้

6.เมื่อน้ำเดือดให้ใส่หมูสับลงไป โดยอาจให้เด็กช่วยปั้นหมูสับแล้วคุณครูเป็นคนใส่ลงไปในหม้อให้ ระหว่างที่เอาหมูสับใส่ลงในหม้อ บอกเด็กสังเกตดูว่า "ตอนนี้เด็กๆเห็นหมูสับเป็นสีอะไรคะ" เมื่อเด็กตอบให้กล่าวชมเชยอีกครั้ง

7.ในระหว่างที่รอให้หมูสับสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลงประกอบการทำอาหารไปด้วยเพื่อความสนุกสนาเพลิดเพลิน เมื่อหมูสับสุกก็ถามถึงการเปลี่ยนแปลงของหมูสับว่า "เด็กๆคิดว่าหมูสับเปลี่ยนไปมั้ยคะ"

8.จากนั้นให้ใส่ผักที่เตรียมไว้ ถามเด็กว่า "เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ" เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผักเหมือนถามตอนที่ใส่หมูสับลงไป

9.ต่อจากนั้นปรุงรสชาติ ถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคนไหนอยากปรุงรสชาติแกงจืดช่วยคุณครูบ้างคะ"

10.เสร็จแล้วให้ตักใส่ถ้วยให้เด็กได้ทดลองชิมแกงจืดที่ทำ พร้อมให้เด็กบอกว่ารสชาติเป็นอย่างไรและสรุปด้วยว่าแกงจืดนั้นให้ประโยชน์อะไรแก่เด็กบ้าง

 อุปกรณ์และส่วนผสมสำหรับทำแกงจืด


ภาพบรรยากาศขณะสาธิตการทำแกงจืด



Monday 16 September 2013

Study notes No.14

วันนี้อาจารย์ตฤณได้สอนนักศึกษาเขียนแผนการสอนในการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยโดยต้องบรูณาการกับวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 6 กลุ่ม ให้ช่วยกันเขียนเมนูอาหารกลุ่มละ 1 เมนู ซึ่งมีแผนที่เขียน ดังนี้

1.เขียนคำว่า Cookking แล้วแยกออกมาว่าอาหารสำหรับเด็กที่กินแล้วมีประโยชน์มีอะไรบ้าง

2. เลือกเมนูอาหารที่กลุ่มนักศึกษาอยากจะทำ พร้อมเขียนบอกอุปกรณ์ ส่วนผสม วิธีทำ และประโยชน์ของเมนูอาหารที่จะทำ

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด

4.เขียนแผนการสอนทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกเมนู ผัดผักรวมมิตร


ภาพบรรยากาศขณะช่วยกันเขียนแผนการสอนทำ ผัดผักรวมมิตร


กลุ่มทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้ออกมานำเสนอแผนการสอนทำอาหารในแต่ละเมนู ดังนี้

1. ราดหน้า

2. แกงจืด

3. ไข่เจียวทรงเครื่อง

4. ไข่พะโล้

5. ข้าวผัด

6. ผัดผักรวมมิตร

สุดท้ายหลังจากนำเสนออาจารย์ได้ให้เลือก 1 แผนที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดลองสอนทำในอาทิตย์หน้า ซึ่งกลุ่มที่โดนเลือก คือ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเมนูแกงจืด


Sunday 15 September 2013

เรียนชดเชย

วันนี้อาจารย์ได้พูดสอนเพิ่มเติมในเรื่องของรายละเอียดการจัดองค์ประกอบที่จะต้องทำลงใส่ในบล็อกว่และอาจารย์ได้ให้เพิ่มชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ลงในไปในบล็อกด้วย เพราะอาจารย์เป็นอีกท่านที่สอนในวิชานี้ หลังจากที่คุยเรื่องนี้กันเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้นำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเก็บตกสำหรับเพื่อที่ยังไม่ส่ง โดยมีการนำเสนอสื่อการสอนดังนี้


** เพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์รอบตัว : กลางวัน กลางคืน


       วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น เรื่องของกลางวัน กลางคืน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เด็ก ๆ เคยชินจนอาจลืมตั้งข้อสงสัยว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

      สาระที่ควรเรียนรู้ เกี่ยวกับ “ธรรมชาติรอบตัว” ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวเกี่ยวกับ กลางวัน กลางคืน ว่า เด็กควรจะได้รู้จักความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน เป็นต้น ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนเด็กจะไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น เด็ก ๆ และคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
     
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เด็กควรรู้เกี่ยวกับกลางวันกลางคืนเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

      * กลางวันกลางคืนเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปี (ควรแสดงตัวอย่างประกอบ)
     
      * ขณะที่โลกหมุนไปเรื่อย ๆ ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันส่วนด้านที่ไม่ได้หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน

      *  ความแตกต่างและประโยชน์ของกลางวันกลางคืน เช่นในเวลา กลางวัน จะมีดวงอาทิตย์เสมอ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น ผ้าแห้งเร็ว และยังนำมาถนอมอาหารได้ด้วย แสงสว่างจากดวงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าให้ความสว่างในบ้านเรือนได้ และเมื่อถึงตอนกลางคืนดวงอาทิตย์จะหายไป
      ในเวลา กลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์ตก เราจะมองเห็นดวงจันทร์ และดวงดาวแทน อากาศจะเย็นลงเนื่องจากไม่มีความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ (ดวงจันทร์สว่างเพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์เราก็จะมองไม่เห็นดวงจันทร์) และเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นอีกครั้งกลางวันและกลางคืนจะหมุนเวียนสลับกันไปเสมอ

      * สิ่งมีชีวิตในเวลากลางวันและเวลากลางคืน สัตว์ส่วนใหญ่ตื่นนอนตอนดวงอาทิตย์ขึ้น และเข้านอนตอนดวงอาทิตย์ตก แต่สัตว์บางชนิด เช่น นกฮูก และค้างคาว จะนอนหลับตอนกลางวันและออกหากินตอนกลางคืนแทน เพราะพวกมันมีดวงตาที่แตกต่างจากเรา จึงทำให้สามารถมองเห็นได้ในความมืด

      * ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่างก็มีความสำคัญ เพราะพืชและสัตว์ต้องการแสงสว่างในการดำรงชีวิต พืชต้องการแสงอาทิตย์และน้ำเพื่อการเจริญเติบโตทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ล้วนกินพืชเป็นอาหาร แต่ทั้งพืชและสัตว์ต่างก็ต้องการเวลาในการพักผ่อนเช่นกัน
         
          ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณแถบชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าชายฝั่งที่อยู่ติดทะเล สร้างความเสียหายให้บ้านเรือน และพลเมืองเป็นวงกว้าง ในประเทศไทยเราเองก็ประสบภัยธรรมชาติอย่างหนักหน่วง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคเหนือของประเทศไทย และอุทกภัยทางภาคใต้ จนทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่ดูเหมือนจะใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน
      
         ในปัจจุบันการเรียนรู้เท่าทันธรรมชาติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กปฐมวัย เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นได้โดยผ่านการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตั้งคำถาม หาคำตอบ และลงมือทำตามวัยของเด็ก การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาเป็นสำคัญ แต่ต้องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวแล้ว กระบวนการวิทยาศาสตร์ยังช่วยกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นสนุกกับการสังเกตและสำรวจหาวิธีที่หลากหลายเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดกระบวนการคิด และ เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อไป
      
รู้ไหมเอ่ยว่า...

      - ในฤดูร้อนที่ประเทศนอร์เวย์คนที่นั่นจะเห็นดวงอาทิตย์ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงได้ฉายาว่า “ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน” เนื่องจากแกนโลกจะหมุนเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอด และเมื่อโลกด้านขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณนั้นจึงได้รับความร้อนและแสงสว่างเต็มที่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน

      - บางครั้งตอนกลางวันก็มืดชั่วขณะได้ เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “สุริยคราส”

หลักการ : การสอนแนวคิดวิทยาศาสตร์ (รวมถึงทุก ๆ เรื่อง) สำหรับเด็กปฐมวัยควรสอนโดยเรียงลำดับจากแนวคิดที่ง่ายไปหายากและนำมาสอนเพียงวันละแนวคิดเท่านั้น
     

Monday 9 September 2013

Study notes No.13

ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ เนื่องจาก อาจารย์ได้ไปสัมนาด่วนที่จังหวัดสระบุรี จึงได้สั่งให้นักศึกษาทำงานประดิษฐ์ให้
                     เสร็จครบทุกอย่างและจะสอนชดเชยแก่นักศึกษา วันที่ 15 กันยายน 2556

**เพิ่มเติม
 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล 
Preschool  Workshops

     นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาแล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรมซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็กในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วยความสนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ในเวลาเรียนปกติครั้งละประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมคิดและปฏิบัติ  ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และผู้สอนทั้งหมด
 
ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล  
    
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น

ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด
 
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน  
   
 EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย ”  
   
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
 
 LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์  
   
 LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง  
    
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
 
 WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย  
   
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆสำหรับ เด็กอนุบาลเช่น  MAGNETIC  ATTRACTION, SCIENCE OF MUSIC, WEATHER WONDERS,WORLD OF WORMS, BUTTERFLIES, LET’S MEASURE, TASTE & SMELL,SHAPES & STRUCTURES, MAD MIXTURES,HUMAN BODY เป็นต้น