Welcome Glitter Graphic

Wednesday 2 October 2013

Scientific research related to early childhood


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (ยุพาภรณ์  ชูสาย)

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

- เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

- เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของการวิจัย

- ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

- เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี อนุบาลปีที่3 เทศบาล2(วัดภูเขาดิน)จังหวัดเพชรบรูณ์

ตัวแปรที่ศึกษา

- ตัวแปรอิสระ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

- ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ 

1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการหามิติสัมพันธ์
4.ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

เนื้อหา

- การเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับสีของพืช ผัก และผลไม้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัวนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้สาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับสีธรรมชาติและเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคยรู้จัก

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

- ขั้นนำ เป็นขั้นนำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการเตรียมความพร้อมให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการร้องเพลง ดูภาพการเล่นปริศนาคำทาย เป็นต้น

- ขั้นสอน เป็นขั้นที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและใช้อุปกรณ์อย่างอิสระ รูปแบบของกิจกรรมมีการพูดคุยสนทนาซักถาม อภิปราย เรียนรู้   ในและนอกห้องเรียน ปฏิบัติการทดลอง มุ่งให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริงทุกครั้งโดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก

- ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลของการเรียนรู้ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กได้ ทดลอง สรุปหลังจากการทดลอง โดยเด็กและครูร่วมกันสรุปถึงผลการทดลอง

สมมุติฐานการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

ผลการวิจัย

- ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ เด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษธพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด

Thai Teacher TV





          เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กเข้าใจง่าย

คุณครูควรตั้งคำถามพูดคุยกับเด็ก เป็นการฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์โดยการสังเกตแล้วนำมาเปรียบเทียบ

อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กคิดจินตนาการอย่างเต็มที่ และได้ฝึกสื่อสารจากการเล่าในระหว่างที่ทำกิจกรรม

ด้วย

         ซึ่งการทดลองที่คุณครูกรรณิการ์ เฉิน นำมาแนะนำให้แก่คุณครูมีการทดลอง ดังนี้

1. การทดลองหยดสีบนก้อนน้ำตาล

2. การทดลองความลับของสีดำ

3. การทดลองแรงดึงของน้ำ

4. การทดลองการลอยการจมของวัตถุ

          สุดท้าย การฝึกให้เด็กทำกิจกรรม และฝึกการมีทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ ต้องสร้างสิ่ง

ประทับใจที่ดีให้แก่เด็ก เพราะความประทับใจที่ดีจะส่งต่อพฤติกรรมในอนาคตของเด็กให้เกิดการอยาก

เรียนรู้ที่มากขึ้นและทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานที่อยากจะเรียนวิทยาศาสตร์ต่อไป

Monday 30 September 2013

Study notes No.16

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งของเล่นเข้ามุมและของเล่นวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง ) เพื่อจัดเป็นนิทรรศการสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงให้บอกด้วยว่าสื่อของเล่นเข้ามุมเวลาที่เด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอะไรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ที่สามารถที่จะอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสามารถจับคอนเซปได้ว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์อะไร หลังจากเสร็จการสรุปเรื่องของเล่นแล้วอาจารย์ได้สรุปถึงสิ่งที่สอนเด็ก ต้องเป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
     
ขั้นที่ 2 สมมติฐาน
     
ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล
   
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
     
ขั้นที่ 5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

สุดท้ายจบการเรียนการสอนและปิดคอร์ส

ภาพบรรยากาศการเก็บรวบรวมสื่อและสรุปองค์ความรู้ทั้งหมด



Monday 23 September 2013

Study notes No.15

วันนี้อาจารย์ตฤณได้ให้กลุ่มนักศึกษาที่ถูกเลือกเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สาธิตการสอนทำแกงจืด โดยให้กลุ่มที่สอนทำเป็นครูและเพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็ก

ขั้นตอนกระบวนการสอนและสาธิต มีดังนี้

1."เด็กๆเห็นอะไรบ้างเอ๋ยที่คุณครูเตรียมมา" พร้อมยกของประกอบขึ้นด้วยเวลาที่เด็กตอบ

2.กล่าวชมเชยเด็ก จากนั้นถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคิดว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้างค่ะ"

3. เมื่อเด็กตอบ ก็บอกว่า "วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืดกัน ไหนลองใครเคยช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำแกงจืดบ้างเอ๋ย" เมื่อเด็กตอบก็กล่าวชมเชยเด็กอีกครั้ง

4."งั้นเรามาเริ่มทำแกงจืดกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำซุปใส่หม้อก่อนนะคะ ไหนมีใครอยากออกมาช่วยคุณครูบ้างยกมือขึ้น แล้วออกมาได้เลย" ขณะที่เด็กเข้ามาหาพยายามบอกให้เด็กอยู่ห่างหม้อมากที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

5.ในระหว่างที่รอน้ำเดือดคุณครูก็เตรียมเต้าหู้ ต้นหอมผักชี มาหั่นรอ ช่วงที่ทำถามเด็กๆไปด้วยว่าคืออะไร แล้วบอกเด็กว่าเวลาที่จะหั่นของควรให้คุณพ่อคุณแม่หั่นเพราะอาจโดนมีดบาดได้

6.เมื่อน้ำเดือดให้ใส่หมูสับลงไป โดยอาจให้เด็กช่วยปั้นหมูสับแล้วคุณครูเป็นคนใส่ลงไปในหม้อให้ ระหว่างที่เอาหมูสับใส่ลงในหม้อ บอกเด็กสังเกตดูว่า "ตอนนี้เด็กๆเห็นหมูสับเป็นสีอะไรคะ" เมื่อเด็กตอบให้กล่าวชมเชยอีกครั้ง

7.ในระหว่างที่รอให้หมูสับสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลงประกอบการทำอาหารไปด้วยเพื่อความสนุกสนาเพลิดเพลิน เมื่อหมูสับสุกก็ถามถึงการเปลี่ยนแปลงของหมูสับว่า "เด็กๆคิดว่าหมูสับเปลี่ยนไปมั้ยคะ"

8.จากนั้นให้ใส่ผักที่เตรียมไว้ ถามเด็กว่า "เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูใส่ผักบ้างคะ" เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผักเหมือนถามตอนที่ใส่หมูสับลงไป

9.ต่อจากนั้นปรุงรสชาติ ถามเด็กอีกว่า "เด็กๆคนไหนอยากปรุงรสชาติแกงจืดช่วยคุณครูบ้างคะ"

10.เสร็จแล้วให้ตักใส่ถ้วยให้เด็กได้ทดลองชิมแกงจืดที่ทำ พร้อมให้เด็กบอกว่ารสชาติเป็นอย่างไรและสรุปด้วยว่าแกงจืดนั้นให้ประโยชน์อะไรแก่เด็กบ้าง

 อุปกรณ์และส่วนผสมสำหรับทำแกงจืด


ภาพบรรยากาศขณะสาธิตการทำแกงจืด



Monday 16 September 2013

Study notes No.14

วันนี้อาจารย์ตฤณได้สอนนักศึกษาเขียนแผนการสอนในการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยโดยต้องบรูณาการกับวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 6 กลุ่ม ให้ช่วยกันเขียนเมนูอาหารกลุ่มละ 1 เมนู ซึ่งมีแผนที่เขียน ดังนี้

1.เขียนคำว่า Cookking แล้วแยกออกมาว่าอาหารสำหรับเด็กที่กินแล้วมีประโยชน์มีอะไรบ้าง

2. เลือกเมนูอาหารที่กลุ่มนักศึกษาอยากจะทำ พร้อมเขียนบอกอุปกรณ์ ส่วนผสม วิธีทำ และประโยชน์ของเมนูอาหารที่จะทำ

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด

4.เขียนแผนการสอนทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกเมนู ผัดผักรวมมิตร


ภาพบรรยากาศขณะช่วยกันเขียนแผนการสอนทำ ผัดผักรวมมิตร


กลุ่มทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้ออกมานำเสนอแผนการสอนทำอาหารในแต่ละเมนู ดังนี้

1. ราดหน้า

2. แกงจืด

3. ไข่เจียวทรงเครื่อง

4. ไข่พะโล้

5. ข้าวผัด

6. ผัดผักรวมมิตร

สุดท้ายหลังจากนำเสนออาจารย์ได้ให้เลือก 1 แผนที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดลองสอนทำในอาทิตย์หน้า ซึ่งกลุ่มที่โดนเลือก คือ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเมนูแกงจืด


Sunday 15 September 2013

เรียนชดเชย

วันนี้อาจารย์ได้พูดสอนเพิ่มเติมในเรื่องของรายละเอียดการจัดองค์ประกอบที่จะต้องทำลงใส่ในบล็อกว่และอาจารย์ได้ให้เพิ่มชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ลงในไปในบล็อกด้วย เพราะอาจารย์เป็นอีกท่านที่สอนในวิชานี้ หลังจากที่คุยเรื่องนี้กันเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้นำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเก็บตกสำหรับเพื่อที่ยังไม่ส่ง โดยมีการนำเสนอสื่อการสอนดังนี้


** เพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์รอบตัว : กลางวัน กลางคืน


       วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น เรื่องของกลางวัน กลางคืน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เด็ก ๆ เคยชินจนอาจลืมตั้งข้อสงสัยว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

      สาระที่ควรเรียนรู้ เกี่ยวกับ “ธรรมชาติรอบตัว” ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวเกี่ยวกับ กลางวัน กลางคืน ว่า เด็กควรจะได้รู้จักความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน เป็นต้น ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนเด็กจะไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น เด็ก ๆ และคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
     
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เด็กควรรู้เกี่ยวกับกลางวันกลางคืนเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

      * กลางวันกลางคืนเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปี (ควรแสดงตัวอย่างประกอบ)
     
      * ขณะที่โลกหมุนไปเรื่อย ๆ ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันส่วนด้านที่ไม่ได้หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน

      *  ความแตกต่างและประโยชน์ของกลางวันกลางคืน เช่นในเวลา กลางวัน จะมีดวงอาทิตย์เสมอ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น ผ้าแห้งเร็ว และยังนำมาถนอมอาหารได้ด้วย แสงสว่างจากดวงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าให้ความสว่างในบ้านเรือนได้ และเมื่อถึงตอนกลางคืนดวงอาทิตย์จะหายไป
      ในเวลา กลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์ตก เราจะมองเห็นดวงจันทร์ และดวงดาวแทน อากาศจะเย็นลงเนื่องจากไม่มีความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ (ดวงจันทร์สว่างเพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์เราก็จะมองไม่เห็นดวงจันทร์) และเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นอีกครั้งกลางวันและกลางคืนจะหมุนเวียนสลับกันไปเสมอ

      * สิ่งมีชีวิตในเวลากลางวันและเวลากลางคืน สัตว์ส่วนใหญ่ตื่นนอนตอนดวงอาทิตย์ขึ้น และเข้านอนตอนดวงอาทิตย์ตก แต่สัตว์บางชนิด เช่น นกฮูก และค้างคาว จะนอนหลับตอนกลางวันและออกหากินตอนกลางคืนแทน เพราะพวกมันมีดวงตาที่แตกต่างจากเรา จึงทำให้สามารถมองเห็นได้ในความมืด

      * ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่างก็มีความสำคัญ เพราะพืชและสัตว์ต้องการแสงสว่างในการดำรงชีวิต พืชต้องการแสงอาทิตย์และน้ำเพื่อการเจริญเติบโตทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ล้วนกินพืชเป็นอาหาร แต่ทั้งพืชและสัตว์ต่างก็ต้องการเวลาในการพักผ่อนเช่นกัน
         
          ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณแถบชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าชายฝั่งที่อยู่ติดทะเล สร้างความเสียหายให้บ้านเรือน และพลเมืองเป็นวงกว้าง ในประเทศไทยเราเองก็ประสบภัยธรรมชาติอย่างหนักหน่วง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคเหนือของประเทศไทย และอุทกภัยทางภาคใต้ จนทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่ดูเหมือนจะใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน
      
         ในปัจจุบันการเรียนรู้เท่าทันธรรมชาติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กปฐมวัย เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นได้โดยผ่านการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตั้งคำถาม หาคำตอบ และลงมือทำตามวัยของเด็ก การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาเป็นสำคัญ แต่ต้องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวแล้ว กระบวนการวิทยาศาสตร์ยังช่วยกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นสนุกกับการสังเกตและสำรวจหาวิธีที่หลากหลายเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดกระบวนการคิด และ เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อไป
      
รู้ไหมเอ่ยว่า...

      - ในฤดูร้อนที่ประเทศนอร์เวย์คนที่นั่นจะเห็นดวงอาทิตย์ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงได้ฉายาว่า “ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน” เนื่องจากแกนโลกจะหมุนเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอด และเมื่อโลกด้านขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณนั้นจึงได้รับความร้อนและแสงสว่างเต็มที่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน

      - บางครั้งตอนกลางวันก็มืดชั่วขณะได้ เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “สุริยคราส”

หลักการ : การสอนแนวคิดวิทยาศาสตร์ (รวมถึงทุก ๆ เรื่อง) สำหรับเด็กปฐมวัยควรสอนโดยเรียงลำดับจากแนวคิดที่ง่ายไปหายากและนำมาสอนเพียงวันละแนวคิดเท่านั้น
     

Monday 9 September 2013

Study notes No.13

ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ เนื่องจาก อาจารย์ได้ไปสัมนาด่วนที่จังหวัดสระบุรี จึงได้สั่งให้นักศึกษาทำงานประดิษฐ์ให้
                     เสร็จครบทุกอย่างและจะสอนชดเชยแก่นักศึกษา วันที่ 15 กันยายน 2556

**เพิ่มเติม
 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล 
Preschool  Workshops

     นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาแล้ว Mad Science ยังจัดกิจกรรมซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็กในระดับอนุบาล ( อายุ 3 – 5 ปี ) ทุกๆกิจกรรม จะแฝงด้วยความสนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ในเวลาเรียนปกติครั้งละประมาณ 30 นาที เพื่อเสริมทักษะด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมคิดและปฏิบัติ  ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และผู้สอนทั้งหมด
 
ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล  
    
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น

ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด
 
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน  
   
 EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย ”  
   
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
 
 LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์  
   
 LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง  
    
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
 
 WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย  
   
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆสำหรับ เด็กอนุบาลเช่น  MAGNETIC  ATTRACTION, SCIENCE OF MUSIC, WEATHER WONDERS,WORLD OF WORMS, BUTTERFLIES, LET’S MEASURE, TASTE & SMELL,SHAPES & STRUCTURES, MAD MIXTURES,HUMAN BODY เป็นต้น

Monday 2 September 2013

Study notes No.12

วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มที่นำเสนอดังนี้


ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้า ทำสัตว์ไต่เชือก ที่สอนในเรื่อง แรงเสียดทาน มีขั้นตอนการทำ  ดังนี้

อุปกรณ์

1.กล่องลัง
2.กระดาษร้อยปอนด์

3.สีไม้
4.หลอด
5.กรรไกร
6.พลาสติกเคลือบใส

ขั้นตอนการทำ

1.นำกล่องลังมาตัดตรงกลางออกและห่อด้วยกระดาษสีดำ



2.นำกระดาษร้อยปอนด์มาวาดรูปสัตว์แล้วตัดตามรูปที่วาด หลังจากนั้นนำพลาสติกใสมาเคลือบ จากนั้นติดหลอดไว้ข้างหลัง โดยตัดหลอดออกให้เหลือประมาณ 1 นิ้ว ตัดมา 2 อัน เอาไว้สำหรับใส่เชือก เมื่อติดหลอดเสร็จแล้ว ให้นำเหรียญสลึงมาติดอีกที เพื่อถ่วงน้ำหนักให้แก่ตัวสัตว์



3.นำกล่องมาเจาะรู้ด้านข้างเพื่อใส่ตัวสัตว์เข้าไป นำกระดาษสีและของตกแต่งมาตกแต่งกล่องให้สวยงาม แล้วนำสัตว์มาร้อยเชือกและร้อยเข้าไปในกล่องหลังจากนั้นลองทดสอบดูว่าสามารถเคลื่อนที่ได้หรือไม่



4.นำชื่อของเล่นและหลักการมาติดไว้ข้างหลังกล่อง 



5.ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์



ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
       แนะนำกิจกรรม โดยถามคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด เช่น เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะของคุณครูบ้างคะ เด็กๆคิดว่าคุณครูจะนำมาทำอะไรคะ 

ขั้นที่ 2 สมมติฐาน
       เด็กๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา เช่น เมื่อครูดึงเชือกจะเกิดอะไรขึ้นคะ

ขั้นสอน

ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล
      - ให้เด็กๆทดลองโดยลองมาดึงเชือก
      - เด็กๆลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
      - เด็กๆสังเกตและเก็บข้อมูลที่ได้เห็น
      - ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
       ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดหาเหตุผลจากของเล่นเข้ามุมวิทยาศาตร์ ดังนี้
1.เมื่อดึงเชือกสลับไปมา เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น สัตว์จะเคลื่อนที่ได้หรือไม่
2.เวลาดึงเชือก เมื่อเด็กๆกางเชือกออก เด็กๆคิดว่าสัตว์จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือไปข้างหลัง

ขั้นสรุป

ขั้นที่ 5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

       หลักการ: ไต่ขึ้นไต่ลง  เมื่อเราดึงเชือกทั้ง 2ข้าง จะทำให้เกิดการเสียดสีในหลอดดูดและเกิดแรงเสียดทาน ระหว่างวัตถุ ซึ่งทำให้วัตถุ 2 ชนิดหยุดการเคลื่อนที่ผ่านกันและกัน เมื่อเราปล่อยเชือกเชือกก็จะไม่กดทับหลอดดูด ทำให้แรงเสียดทานน้อยลง


ภาพบรรยากาศการทำงานและการนำเสนอสื่อของเล่นเข้ามุม สัตว์ไต่เชือก


วิธีการเล่น

ให้ดึงเชือกสลับทีละข้างไปมาเรื่อยๆ เมื่อสัตว์ไต่ไปถึงอีกด้านหนึ่งของกล่องให้กางเชือกทั้งสองข้างออกเพื่อให้สัตว์กลับมาด้านเดิม

Monday 26 August 2013

Study notes No.11

ไม่มีการเรียนการสอน

**หมายเหตุ เนื่องจากอาจารย์ติดงานด่วนของทางคณะ แต่อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาทำงานส่งในคาบ
ต่อไป คือ การทำของเล่นตามมุม พร้อมกับเก็บตกการทดลองและการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม และจะสอนชดเชยเพิ่มให้

**เพิ่มเติม

การทดลอง ดอกไม้บาน

อุปกรณ์

1. กระดาษ A4

2. กรรไกร

3. สี

4. กะละมังขนาดเล็กหรือชาม

ขั้นตอนการทำดอกไม้

1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่ากระดาษโน๊ต


2.เมื่อตัดเสร็จให้พับกระดาษเป็นสี่ทบเท่าๆกัน โดยครั้งที่ 1 พับครึ่งเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และ ครั้งที่ 2 พับอีกครั้งเป็นสี่เหลียมจัตุรัสเหมือนเดิม


3.เมื่อพับเสร็จแล้วให้วาดรูปกลีบดอกไม้ลงไปที่มุมกระดาษ ในด้านที่ไม่ใช่ปากกระดาษอ้า พร้อมกับตัดกลีบดอกไม้ที่วาดออกมา

4.จากนั้นคลี่กลีบดอกไม้ออก ก็จะได้ดอกไม้ที่เสร็จสมบรูณ์ เสร็จแล้วตกแต่งด้วยสีให้สวยงาม

5.เมื่อแต่งเติมสีสันเสร็จแล้ว ให้พับกลีบดอกไม้เข้า ทีละกลับ ทีละกลีบ จนครบทั้ง 4 กลีบ



6. เสร็จแล้วนำดอกไม้ทำการทดลอง โดยใส่ลงไปบนน้ำที่เตรียมใส่ไว้ในกะละมังขนาดเล็กหรือชาม


การดำเนินกิจกรรมการทดลอง

ขั้นนำ

ขั้นที่1 ขั้นกำหนดปัญหา

      แนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้ "เด็กๆคิดว่าบนโต๊ะมีอุปกรณ์อะไรบ้างคะ" หลังจากนั้นถามอีกว่า"เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่บนโต๊ะสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง" แล้วก็เริ่มทำการประดิษฐ์ดอกไม้ ตามวิธีการด้านบน

ขั้นที่2 ขั้นตั้งสมมติฐาน

     เด็กๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ เช่น เมื่อนำดอกไม้ลงไปวางในกะละมังขนาดเล็กหรือชามที่ใส่น้ำจะเกิดอะไรขึ้นคะ


ขั้นสอน

ขั้นที่3 เก็บรวบรวมข้อมูล

       ให้เด็กทำการทดลองดอกไม้บาน

       เด็กลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
       เด็กสังเกตและเก็บข้อมูลของการทดลองที่ได้ทำ
       ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่4 การวิเคราะห์ข้อมูล

 ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง ดังนี้
1.ดอกไม้ที่เด็กได้ประดิษฐ์เมื่อวางลงไปในน้ำ มีลักษณะอย่างไร
2.เด็กๆคิดว่าทำไมดอกไม้ถึงมีลักษณะอย่างที่เห็น


ขั้นสรุป

ขั้นที่5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

กระดาษที่ทำด้วยเยื่อไม้มีรูพรุนมาก เมื่อพับกระดาษจะทำให้รูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไปลอยน้ำ น้ำจะซึมเข้าไปในรูพรุน ทำให้เกิดแรงพลัก  โดยเฉพาะรูพรุนในบริเวณรอยพับของดอกไม้  ดอกไม้จึงบานออก เหมือนกับที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตสามารถคงรูปได้เพราะมีแรงดันนั้นอยู่

VDO การทดลองดอกไม้บาน


Monday 19 August 2013

Study notes No.10

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มที่นำเสนอการทดลอง ดังต่อไปนี้


ระหว่างการนำเสนอและหลังจากการนำเสนออาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในเรื่องของการสอนวิทยาศาตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย

ซึ่งสรุปใจความได้ว่าการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยควรเป็นไปตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นเตรียม

1.ครูและเด็กสนทนาถึงกิจกรรมที่จะปฏิบัติและอธิบายให้เด็กรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ

2.ครูและเด็กร่วมสนทนาถึงขั้นตอนการทดลอง

3.ครูแบ่งกลุ่มเด็กตามความเหมาะสม

ขั้นปฏิบัติการ

1.ให้เด็กลงมือปฏิบัติการทดลองตามกลุ่มที่แบ่งไว้

2.ครูสังเกตการปฏิบัติการทดลองของเด็กแต่ละกลุ่มอย่างทั่วถึง

3.ให้เด็กสังเกตโดยครูใช้คำถามกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น

ขั้นสรุป

1.ครูและเด็กร่วมอภิปราบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม

2.ครูและเด็กร่วมกันสรุปกระบวนการการทดลอง


**เพิ่มเติม

ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

Saturday 17 August 2013

เรียนชดเชย

วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน พร้อมบอกวิธีประดิษฐ์ วิธีเล่น และหลักการวิทยาศาสตร์ของของเล่นที่ชิ้นนั้นๆ
ซึ่งของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอในวันนี้ ได้แก่


หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเรียบร้อยแล้วอาจารย์ได้มอบหมายงาน ดังนี้
** งานที่ได้รับมอบหมาย
1.ประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม (กลุ่ม 3 คน)
2.นำเสนองานทดลอง ในวันที่ 19/08/56

ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ข้าพเจ้าประดิษฐ์ ขลุ่ยหลอด

วัสดุ/อุปกรณ์

1.หลอดดูดน้ำ 8 หลอด
2.กระดาษแข็ง
3.เทปใส


ขั้นตอนการทำ

1.เตรียมหลอดดูดมา 8 หลอด และ ตัดส่วนบนของหลอดดูดทั้งหมด



2.แบ่งมา 2 หลอด และตัดปลายออกเล็กน้อยอีก 2 หลอด ตัดปลายออกแต่ให้ยาวกว่า 2 หลอดแรก ตัดอีก 2 หลอดให้ยาวมากกว่าเดิม จากนั้นเรียงตามความยาว ตอนนี้จะมีหลอดดูดที่ยาว 4 ขนาด ขนาดละ 2 หลอดเรียงกันอยู่ จากนั้นตัดเทปเป็นชิ้นยาว แล้วดึงพันรอบปลายหลอดด้านล่าง ด้านบนให้ติดกัน



3.ตัดกระดาษแข็งให้กว้างเท่ากับแถบหลอด ทากาวติดลงไปบนแถบหลอด ลองเป่าลมผ่านหลอดเพื่อฟังเสียงที่เกิดขึ้น



หลักการทางวิทยาศาสตร์



วิธีการเล่น

คว่ำขลุ่ยหลอดลงให้ปลายหลอดอยู่ในแนวขวาง แล้วใช้ผิวปากเป่าตรงบริเวณปลายหลอด และลองฟังเสียงที่เกิดขึ้น


ภาพระหว่างการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ขลุ่ยหลอด


Monday 12 August 2013

Study notes No.9

ไม่มีการเรียนการสอน

 ** หมายเหตุ เนื่องจาก ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
(วันแม่แห่งชาติ)





Monday 5 August 2013

Study notes No.8

ไม่มีการเรียนการสอน 

** หมายเหตุ เนื่องจาก อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค 1/2556 ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม 2556

**เพิ่มเติม

5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอน

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆ อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย


ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

"สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด
ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้

Monday 29 July 2013

Study notes No.7

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจากในสัปดาห์หน้าจะมีการสอบกลางภาคของปีการศึกษา 1/2556 อาจารย์เห็นถึงความสำคัญของการสอบจึงให้เวลานักศึกษาในการเตรียมตัวอ่านหนังสือสำหรับการสอบกลางภาคและจะสอนชดเชยเพิ่มให้แก่นักศึกษาในภายหลัง

**เพิ่มเติม 

เคล็ดลับวิธีทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำ
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้

3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง

4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป

5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง

7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ

8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
          ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
          ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ 
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...สวัสดี 
หมายเหตุ * เทคนิคการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำนี้ เป็นเพียงข้อเดียว (อรรถปฏิสัมภิทา) ในธรรมะชุดปฏิสัมภิทา 4 หรือ ธรรมะเพื่อความเลิศทางวิชาการ จาก พระไตรปิฎกมรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุด

Sunday 28 July 2013

เรียนชดเชย

วันนี้ได้เข้าอบรมการทำสื่อให้แก่เด็กปฐมวัย โดยอาจารยืให้จับกลุ่มแบ่ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน

สื่อที่ทำ มีดังนี้

1.สื่อตัวการ์ตูนหรือสัตว์อ้างปาก 
ที่ใช้เชือกร้อยแล้วดึง ทำให้ปากอ้า


(กลุ่มข้าพเจ้าทำแมวคาบกางปลา)

2.สื่อที่ดึงแล้วโยกไปมา 
ที่ใช้กระดาษชานอ้อยทำเป็นฐานสำหรับดึง และนำกระดาษแข็งมาติดกับกระดาษชานอ้อยบริเวณตรงกลางเพื่อเป็นแกนสำหรับให้ภาพโยกไปมา เสร็จแล้วนำภาพที่ต้องการติดลงไปตรงแกนนั้น จะทำมากกว่า 1 แกนก็ได้


(กลุ่มข้าพเจ้าทำปลาโลมากำลังว่ายน้ำ)


สื่่อของทุกกลุ่มที่ทำในวันนี้


ประโยชน์ที่ได้จากการอบรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

- ได้แนวคิดใหม่ๆในการนำมาใช้ทำสื่อที่หลากหลาย
- ได้ลองฝึกและทำสื่อด้วยตนเอง
- ได้เห็นสื่อที่หลายหลายในแต่ละแนวคิดของเพื่อนกลุ่มอื่น
- สามารถนำวิธีการทำสื่อเหล่านี้ไปดัดแปลงใช้กับสื่ออื่นๆ
- สามารถนำสื่อที่ทำนี้ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย


Monday 22 July 2013

Study notes No.6

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจาก ตรงกับวันสำคัญทางศาสนา คือ วัน อาสาฬหบูชา

**เพิ่มเติม  

อาสาฬหบูชา
ประวัติความเป็นมา 
     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง 

     หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 
     วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง 


     หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 
ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่



๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

         และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

         ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" 
หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา


จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ 

1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ 

พระสังฆรัตนะ