Welcome Glitter Graphic

Sunday 15 September 2013

เรียนชดเชย

วันนี้อาจารย์ได้พูดสอนเพิ่มเติมในเรื่องของรายละเอียดการจัดองค์ประกอบที่จะต้องทำลงใส่ในบล็อกว่และอาจารย์ได้ให้เพิ่มชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น ลงในไปในบล็อกด้วย เพราะอาจารย์เป็นอีกท่านที่สอนในวิชานี้ หลังจากที่คุยเรื่องนี้กันเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้นำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเก็บตกสำหรับเพื่อที่ยังไม่ส่ง โดยมีการนำเสนอสื่อการสอนดังนี้


** เพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์รอบตัว : กลางวัน กลางคืน


       วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น เรื่องของกลางวัน กลางคืน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เด็ก ๆ เคยชินจนอาจลืมตั้งข้อสงสัยว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

      สาระที่ควรเรียนรู้ เกี่ยวกับ “ธรรมชาติรอบตัว” ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวเกี่ยวกับ กลางวัน กลางคืน ว่า เด็กควรจะได้รู้จักความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น กลางวัน กลางคืน เป็นต้น ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนเด็กจะไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น เด็ก ๆ และคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน
     
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เด็กควรรู้เกี่ยวกับกลางวันกลางคืนเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

      * กลางวันกลางคืนเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน ในขณะเดียวกันก็หมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปี (ควรแสดงตัวอย่างประกอบ)
     
      * ขณะที่โลกหมุนไปเรื่อย ๆ ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นกลางวันส่วนด้านที่ไม่ได้หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน

      *  ความแตกต่างและประโยชน์ของกลางวันกลางคืน เช่นในเวลา กลางวัน จะมีดวงอาทิตย์เสมอ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้โลกอบอุ่น ผ้าแห้งเร็ว และยังนำมาถนอมอาหารได้ด้วย แสงสว่างจากดวงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าให้ความสว่างในบ้านเรือนได้ และเมื่อถึงตอนกลางคืนดวงอาทิตย์จะหายไป
      ในเวลา กลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์ตก เราจะมองเห็นดวงจันทร์ และดวงดาวแทน อากาศจะเย็นลงเนื่องจากไม่มีความอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ (ดวงจันทร์สว่างเพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์เราก็จะมองไม่เห็นดวงจันทร์) และเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นอีกครั้งกลางวันและกลางคืนจะหมุนเวียนสลับกันไปเสมอ

      * สิ่งมีชีวิตในเวลากลางวันและเวลากลางคืน สัตว์ส่วนใหญ่ตื่นนอนตอนดวงอาทิตย์ขึ้น และเข้านอนตอนดวงอาทิตย์ตก แต่สัตว์บางชนิด เช่น นกฮูก และค้างคาว จะนอนหลับตอนกลางวันและออกหากินตอนกลางคืนแทน เพราะพวกมันมีดวงตาที่แตกต่างจากเรา จึงทำให้สามารถมองเห็นได้ในความมืด

      * ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่างก็มีความสำคัญ เพราะพืชและสัตว์ต้องการแสงสว่างในการดำรงชีวิต พืชต้องการแสงอาทิตย์และน้ำเพื่อการเจริญเติบโตทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ล้วนกินพืชเป็นอาหาร แต่ทั้งพืชและสัตว์ต่างก็ต้องการเวลาในการพักผ่อนเช่นกัน
         
          ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณแถบชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าชายฝั่งที่อยู่ติดทะเล สร้างความเสียหายให้บ้านเรือน และพลเมืองเป็นวงกว้าง ในประเทศไทยเราเองก็ประสบภัยธรรมชาติอย่างหนักหน่วง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางภาคเหนือของประเทศไทย และอุทกภัยทางภาคใต้ จนทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่ดูเหมือนจะใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน
      
         ในปัจจุบันการเรียนรู้เท่าทันธรรมชาติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กปฐมวัย เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นได้โดยผ่านการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตั้งคำถาม หาคำตอบ และลงมือทำตามวัยของเด็ก การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาเป็นสำคัญ แต่ต้องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพราะนอกจากจะทำให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัวแล้ว กระบวนการวิทยาศาสตร์ยังช่วยกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นสนุกกับการสังเกตและสำรวจหาวิธีที่หลากหลายเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดกระบวนการคิด และ เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลต่อไป
      
รู้ไหมเอ่ยว่า...

      - ในฤดูร้อนที่ประเทศนอร์เวย์คนที่นั่นจะเห็นดวงอาทิตย์ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงได้ฉายาว่า “ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน” เนื่องจากแกนโลกจะหมุนเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอด และเมื่อโลกด้านขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณนั้นจึงได้รับความร้อนและแสงสว่างเต็มที่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน

      - บางครั้งตอนกลางวันก็มืดชั่วขณะได้ เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “สุริยคราส”

หลักการ : การสอนแนวคิดวิทยาศาสตร์ (รวมถึงทุก ๆ เรื่อง) สำหรับเด็กปฐมวัยควรสอนโดยเรียงลำดับจากแนวคิดที่ง่ายไปหายากและนำมาสอนเพียงวันละแนวคิดเท่านั้น
     

No comments:

Post a Comment